บทเรียน 1 ปี สำหรับการดำเนินโครงการไฟฟ้าสะอาดบ้านเกาะบูโหลนดอน

โดย นายพิรัฐ อินพานิช นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กศร.สป.พน.

1. คณะทำงานเล็งเห็นว่าเพื่อเป็นการปลูกฝังการเรียนรู้และการใช้งานให้เทคโนโลยีโซล่าโฮมรูปแบบใหม่นี้ให้แพร่กระจายออกไปในครัวเรือนของหมู่บ้าน การดำเนินงานในช่วงแรกจึง มุ่งเน้นที่การสร้างความสามารถในการเรียนรู้เชิงประจักษ์ เพื่อหวังผลในระยะยาวคือการส่งมอบและบำรุงรักษาระบบ Solar Home (SHS) สู่มือชุมชนเป็นผู้จัดการจึงจำเป็นที่ชุมชนต้องได้รับโอกาสในการฝึกอบรม เชิงปฏิบัติด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การติดตั้ง ใช้งาน ซ่อมบำรุง และการติดต่อประสานงานตรงกับโรงงานผู้ผลิตด้วยตัวของชุมชนเอง

2. คณะทำงานพบว่าวิธีที่ดีที่สุดในการโน้มน้าวให้ชุมชนเกิดการตัดสินใจเข้าร่วมและการขยายผล การเปิดรับสมาชิกรายใหม่จำเป็นต้องติดตั้งต้นแบบระบบ ในบ้านของพวกเขาคือการติดตั้งชุดสาธิตในร้านค้า โรงเรียน หรือที่บ้าน เมื่อสมาชิกเห็นระบบและทดลองใช้งานจริงสักระยะ ความต้องการแบบปากต่อปากก็จะช่วยแพร่กระจายอย่างรวดเร็วโดยธรรมชาติ ดังนั้นโครงการจึงไม่เน้นการเข้าร่วมของสมาชิกให้ครบ 100%ตั้งแต่แรก แต่จะรอเวลาให้กลุ่มเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป

3. กระบวนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายโดยชุมชนก่อนเริ่มดำเนินโครงการเป็นสิ่งสำคัญ โดยชุมชนเลือกที่จะบริหารจัดการผ่านกลุ่ม ในรูปแบบการมัดจำค่าระบบล่วงหน้า 3 เดือน และผ่อนชำระค่าระบบมากน้อยตามขนาดระบบที่สมาชิกเลือก S M L L++ ระยะเวลาผ่อนชำระรายเดือนต่อเนื่อง 48 เดือน ในช่วงการผ่อนชำระจะได้รับการดูและประกันสินค้าจากกลุ่ม หากเป็นการชำรุดจากการกระทำของผู้ใช้จะคิดค่าซ่อมตามการประเมินราคา แต่หากชำรุดจากเหตุภัยธรรมชาติจะได้รับการดูแลจากกลุ่ม 50% ของมูลค่าการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่

4. พลังของต้นแบบการใช้งานที่ดี เชื่อถือได้ ระบบกลุ่มที่มีความโปร่งใสเป็นธรรมตั้งแต่แรกของการดำเนินโครงการ ทำให้เกิดการเติบโตของกิจการไฟฟ้าโดยชุมชนอย่างแท้จริงผ่านนวัตกรรมความร่วมมือของเครือข่ายภาครัฐบาล เอกชน ประชาสังคม อย่างไรก็ตาม เรื่องราวการทำโครงการต้นแบบในครั้งนี้จะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ที่สร้างความเชื่อมั่นในการให้เงินทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนสาธารณะทั้งจากภาครัฐและเอกชน ในการขยายผลต้นแบบนี้ไปยังพื้นที่ห่างไกลอื่นๆในประเทศไทยเพื่อการทำกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพและเผยแพร่ประโยชน์ของการเป็นเจ้าของกิจการไฟฟ้าพลังงานสะอาดโดยชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานความสำเร็จของโครงการลักษณะนี้ในประเทศไทย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://ppp.energy.go.th/เครือข่ายพัฒนาไฟ้ฟ้าพล/

1 ต.ค. 2564 ประชุมออนไลน์ติดตามผลการดำเนินงาน ประจำเดือน กันยายน 2564 แบบบูรณาการในทุกมิติ กับ คณะกรรมการ กลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืนบ้านเกาะบูโหลนดอน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล???
Process : การดำเนินงานผ่านเครือข่ายความร่วมมือด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 5 ขั้นตอน inform consult involve collaborate empower stakeholder engagement process อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
Output :
1. ติดตั้งระบบ จำนวนสมาชิกทั้งหมด 48 รับบ กระจายอยู่ใน 29 หลังคาเรือน (บางบ้านมี 2-3 ระบบ) จากทั้งหมด 79 หลังคาเรือน 36.7%
โดยสมาชิกผู้ใช้ระบบ SHS บ้านเกาะบูโหลนดอนจะจัดอยู่ในกลุ่ม Tier 3 จะมีการใช้ไฟฟ้าขั้นต่ำประมาณ 50-800 วัตต์ หรือ คิดเป็นหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ประมาณ 1.0-3.4 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน และมีไฟฟ้าใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมงต่อวันหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับชั่วโมงแสงแดดที่ได้ในวันนั้น
สัดส่วนร้อยละของสมาชิกจ่ายที่จ่ายค่าบริการระบบรายเดือนแบบ *PAYGO เข้ากลุ่มมีดังนี้
จ่าย 1300 บาท 3 คน 6% จ่าย 900 บาท 2 คน 4% จ่าย 500-740 บาท 2 คน 4% จ่าย 180-360 บาท 28คน 58% จ่าย 120 บาท 13 คน 13% โดยกลุ่มจะมีรายรับเฉลี่ยเดือนละ 14,000 บาท สามารถเปิดรับสามาชิกเพิ่มเฉลี่ยได้เดือนละ 2ครัวเรือน
1.1 อัตราการผ่อนชำระรายเดือนตามขนาดระบบดังนี้
ชุดกลาง 120 บาท
ชุดกลาง + อุปกรณ์ 180-360 บาท
ชุดสถานีชาร์จ 500-740 บาท
ชุดตู้เย็น 900 บาท
ชุดตู็แช่ 1300 บาท
ค่าใช้จ่ายระหว่าง 180-300 บาท/เดือน จะเป็นครัวเรือนทั่วไป หลอดไฟ ทีวี พัดลม
ค่าใช้จ่ายระหว่าง 600-1300 บาท/เดือน จะเป็นครัวเรือนที่เป็นร้านค่าชุมชนทำธุรกิจ เช่น ตู้แช่แข็ง ตู้เย็น สถานีชาร์จ power bank เป็นต้น
2. จัดตั้งกลุ่มพลังงานทดแทนและการออมบ้านเกาะบูโหลนดอน กรรมการ 6 คน
3. สร้างช่างชุมชน 4 คน
Outcome : เกิดกิจการไฟฟ้าพลังงานสะอาดทดแทนพลังงานฟอสซิล บริหารจัดการโดย ชุมชน เพื่อชุมชน อย่างยั่งยืน ครอบคลุม 36.7% ของครัวเรือนทั้งหมด
เกิดกลไกการเก็บเงินแบบ Pay-As-You-Go อัตราการจ่ายเงินของสมาชิก 100%
เกิดกองทุนหมุนเวียนพลังงานชุมชน สร้างสวัสดิการจากผลประกอบการกลุ่ม เช่น Wifi ฟรี
เกิดอาชีพเสริมช่างชุมชนติดตั้ง-ซ่อมบำรุงระบบ อาชีพเสริมให้เช่า PowerBank
ผลการดำเนินงานของกลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืน บ้านเกาะบูโหลนดอน จ.สตูล บัญชี 1 เดือน ก.ย. 2564
– สมาชิกใหม่ติดตั้งชุดแบตขนาดกลางเพิ่ม 4 ระบบ
– สมาชิกเก่าติดตั้งแบตขนาดกลางเพิ่ม 2 ระบบ
รายรับ
– เก็บค่ามัดจำระบบที่ติดตั้งใหม่ 4,140 บาท
– สมาชิกจ่ายค่าบริการรายเดือนให้กลุ่ม 14,740 บาท
– สมาชิกจ่ายค่าหลอดไฟที่ชำรุด (คนละครึ่งกับกลุ่ม) 500 บาท
รวมรายรับของกลุ่ม บัญชี 1 เดือน ก.ย. 2564 เท่ากับ 19,380 บาท
รายจ่าย
– ค่าตอบแทนเลขาฯ 420 บาท
– ค่าช่างชุมนในการติดตั้งระบบเพิ่ม 2,100 บาท
– ค่าซื้ออุปกรณ์ในการติดตั้ง 471 บาท
– ค่าส่งของเคลมวันที่ 5 ก.ย. 2564 145 บาท
รวมรายจ่ายของกลุ่ม บัญชี 1 เดือน ก.ย. 2564 เท่ากับ 3,136 บาท
สุทธิ
รายรับ 19,380 บาท – รายจ่าย 3,136 บาท = 16,244 บาท
ยอดเงินสะสมรวมในบัญชี 1 ณ วันที่ 28 ก.ย. 2564 เท่ากับ 75,316.1 บาท
Impact :
1. เศรษฐกิจ
1.1 ร้านค้าที่มีตู้แช่ Solar ลดค่าน้ำแข็ง เฉลี่ย 60-120 บาทต่อวัน หรือ 1800-3600 บาทต่อเดือน
1.2. ครัวเรือนทั่วไปที่มีตู้เย็น Solar ลดค่าน้ำแข็ง เฉลี่ย 20-40 บาทต่อวัน หรือ 600-1200 บาทต่อเดือน
1.3. ครัวเรือนทั่วไปที่มีระบบ SHS ลดค่าน้ำมันเฉลี่ย เดือนละ 300 บาท มีชั่วโมงใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิม 5 ชม.ต่อวัน เป็น 18 ชั่วโมงต่อวัน
1.4 ทั้งเกาะ ณ วันที่ 10 พ.ย. 2563 คือ ทดแทน 1241.12 ลิตรต่อปี หรือ 37,230 บาท/ปี* (3139 kWh ต่อปี) เทียบเท่า 3349.44 kgCO2 ต่อปี *คิดที่น้ำมันดีเซลลิตรละ 30 บาท
2. สิ่งแวดล้อม : การเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการใช้เครื่องปั่นไฟกับระบบใหม่ที่นำไปทดแทน
2.1 ประเมิน ค่า emission factor ว่า การผลิตไฟฟ้าจากดีเซล 1 kWh ใช้น้ำมันกี่ลิตร จากการคำนวณได้ตัวเลข 0.494 L/kWh
2.2 ประเมินว่าการ combust น้ำมันดีเซล 1 ลิตรปล่อย CO2eq เท่าไหร่ ซึ่งจาก database TGO มีค่า default emission factor อยู่แล้ว เท่ากับ 2.6987 kgCO2/L
2.3 เพื่อประเมินการทดแทนน้ำมันดีเซล ระบบชุดกลาง ใช้แผงขนาด 50W ใน 1 วันผลิตได้ 0.2 kWh ที่ 4 ชั่วโมง average peak หากคิด consumption ที่ 80% คือระบบนั้น ๆ จะต้องการพลังงาน 0.16 kWh หรือ 58.4 kWh ต่อปี
2.4 เมื่อเทียบจำนวนน้ำมันดีเซลที่ต้องใช้เพื่อให้ได้ไฟฟ้าปริมาณไฟฟ้าที่แบตชุดกลางผลิตได้ คือ 28.86 ลิตรต่อปี (73 kWh ต่อปี) เทียบเท่า 77.89 kgCO2 ต่อปี
2.5. แบตชุดใหญ่ ทดแทน 173.18 ลิตรต่อปี (438 kWh ต่อปี) เทียบเท่า 467.36 kgCO2 ต่อปี
2.6 ทั้งเกาะ ณ วันที่ 10 พ.ย. 2563 คือ ทดแทน 1241.12 ลิตรต่อปี หรือ 37,230 บาท/ปี* (3139 kWh ต่อปี) เทียบเท่า 3349.44 kgCO2 ต่อปี *คิดที่น้ำมันดีเซลลิตรละ 30 บาท
3. สังคม : ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม โดยใช้หลักประชาธิปไตย โดยใช้พลังกลุ่มเพื่อจัดการพลังงาน บนพื้นฐานความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ส่งเสริมบทบาทสตรี ส่งเสริมการสร้างสวัสดิการชุมชนครบวงจรจากกิจการไฟฟ้าพลังงานสะอาด ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม พัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้