วันที่ 10 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 11 กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานงานภูมิภาค (กพภ.) สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
นายพีระพงษ์ บุญแสง
ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค
เป็นประธานในการประชุมทีมงานจัดการความรู้ (KM Team) กพภ. สป.พน. ครั้งที่ 1/2568
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน ของทีมงานจัดการความรู้ (KM Team)
ในการประชุมจะกล่าวถึง การทบทวนและปรับปรุงวิสัยทัศน์ กพภ. ด้านองค์กรจัดการความรู้ Knowledge Vision (KV) ประจำปี 2568
วิสัยทัศน์ Knowledge Vision (KV)ประจำปี 2568
"เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพลังงาน ในส่วนภูมิภาค ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน"
สรุปแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ กพภ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จะเน้นการจัดการความรู้ให้ครอบคลุมภารกิจขององค์กร
ทั้งนี้การพัฒนาส่วนราชการให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 โดยอาศัยกระบวนการ การจัดการความรู้ ในยุคที่มีการแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนราชการต้องสร้างให้ข้าราชการในส่วนราชการมีความรู้ เข้มแข็งและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยผลักดันส่วนราชการให้บรรลุผล ตามยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
รายละเอียดเพิ่มเติม
การจัดการความรู้ในองค์กร หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในทุกส่วนในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้ง ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1. ความรู้เฉพาะตัว หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่นทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางคนจึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2. ความรู้ทั่วไป หรือความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม