วันที่ 21-27 ม.ค. 2568 : ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการกิจการไฟฟ้าชุมชนอย่างยั่งยืน
ภายใต้โครงการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ระยะที่ 4
ดำเนินการโดย
สำนักงานพลังงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ร่วมกับ
กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
ลงพื้นที่
*****
1. หมู่บ้านห้วยปูลิง หมู่ที่ 1 อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
2. หมู่บ้านห้วยไม้ดำ หมู่ที่ 9 อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
3. หมู่บ้านห้วยแก้ว หมู่ที่ 7 (หย่อมบ้านห้วยแก้วบน) ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
4 .หมู่บ้านห้วยแก้ว หมู่ที่ 7 (หย่อมบ้านห้วยแก้วล่าง) ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
ความเป็นมา
จากการที่กลุ่มเสริมสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วม (กสร.) กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค (กพภ.) สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (สป.พน.) ได้ดำเนิน “โครงการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ไฟฟ้า
เข้าไม่ถึง ระยะที่ ๔” เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
ตามวัตถุประสงค์ของโครงการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ
1) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
2) เพื่อขยายผลรูปแบบการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืนในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
และเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจ
3) เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่
โดย กพภ. มีหนังสือที่ พน 0211/3843 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2567 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการประสานงาน ภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 หมวด 1 การบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการมาตรา ๗ การบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ต้องเป็นไปตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อความผาสุกของประชาชนในพื้นที่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เรื่อง โครงการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ระยะที่ 4 โดย กพภ. ได้มีการดำเนินการโครงการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง เริ่มดำเนินโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการจัดทำโครงการและวางแผนปฏิบัติการร่วมภายใต้โครงการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ระยะที่ 4 โดย กพภ. พิจารณาแล้วเห็นว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นต้นแบบการบริหารจัดการที่ยั่งยืนของชุมชนในพื้นที่ไฟฟ้าสายส่งเข้าไม่ถึง
กพภ. จึงได้การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว เกิดการปฏิบัติการในระดับพื้นที่ (Area Based Development) การขยายเครือข่ายความร่วมมือ และการจัดการองค์ความรู้ในการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมกับสำนักงานพลังงานจังหวัดแม่ฮ่องสอนและหน่วยงาน/ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายเพื่อปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในระหว่างวันที่ 20 – 27 มกราคม 2568 ระยะเวลารวม 8 วัน ณ พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย หมู่บ้านห้วยปูลิง
หมู่ที่ 1 อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน, หมู่บ้านห้วยไม้ดำ หมู่ที่ 9 อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน, หมู่บ้านห้วยแก้ว หมู่ที่ 7 (หย่อมบ้านห้วยแก้วบน) ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน และ หมู่บ้านห้วยแก้ว หมู่ที่ 7 (หย่อมบ้านห้วยแก้วล่าง) ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
วัตถุประสงค์การสำรวจชุมชน
ในการสำรวจพื้นที่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ย่อย เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือฯ ดังนี้
1) เพื่อแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือ ในการดำเนินโครงการ เสริมสร้างเครือข่ายฯ ระยะที่ 4
2) เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนและรูปแบบการจัดการพลังงานในชุมชน
3) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานเชิงพื้นที่นำมาถอดบทเรียน
รายละเอียดเครื่องมือที่ใช้ในการลงพื้นที่
กระบวนการจัดการความรู้ KM ขั้นตอน KS: Knowledge Sharing ร่วมกับ บุคลาการที่เกี่ยวข้อง จาก อปท. ตัวแทนชุมชนผู้ใช้ประโยชน์ ณ ห้องประชุม อปท. หรือ ในพื้นที่ติดตั้งระบบ โดยพิจารณาใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ CoP: Community of Practice; ชุมชนนักปฏิบัติ เป็นหลัก และพิจารณาใช้เครื่องมืออื่นตามความเหมาะสม เช่น
1. ฐานข้อมูล (Knowledge Bases)
2. การจัดเก็บความรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในรูปของเอกสาร
3. การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (Story telling)
4. การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR: After Action Reviews)
5. ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System)
6. การจัดตั้งทีมข้ามสายงาน (Cross-Functional Team)
7. การประชุมระดมสมอง (Workshop/Brainstorming)
8. ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP: Community of Practice)
ร่วมกับ บุคลาการที่เกี่ยวข้อง จาก อปท. ตัวแทนชุมชนผู้ใช้ประโยชน์
ณ ห้องประชุม อปท. หรือ ในพื้นที่ติดตั้งระบบ
ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ (CoP: Community of Practice)
? การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR: After Action Reviews) ทบทวนการบริหารจัดการความยั่งยืนเพื่อทราบ บทบาท อปท. ชุมชน สพจ. กพภ.
? การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (Story telling) ถอดบทเรียน ร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย การบริหารจัดการ การผลิต การใช้ การเก็บเงิน นำเข้าสู่การวิเคราะห์สถานการณ์ ความคุ้มค่า การเตรียมแผนความยั่งยืน (คน เงิน ความรู้ การจัดการ(งาน)) ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์หลังหมดประกัน/ประเมินคะแนนความยั่งยืนด้วยเครืองมือ สตง.+ 5 ก.
? การเรียนรู้จากฐานข้อมูล (Knowledge Bases) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการจัดการระบบไฟฟ้าชุมชนที่ดี