ปัจจุบัน ประเทศไทยเรามีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าทั่วไทยจำนวนเท่าไรกันนะ?

สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565) มีจำนวน 944 สถานีทั่วประเทศ โดยรายละเอียดของจำนวน เเละตำเเหน่งสถานีอัดประจุในประเทศไทย มีดังนี้

1. บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ
เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 417 สถานี

2. บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 120 สถานี

3. บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 108 สถานี

4. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟภ.
เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 73 สถานี

5 สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย มีจำนวนสถานีอัดประจุทั้งหมด 68 สถานี

6. บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ
เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 51 สถานี

7. บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จํากัด มีจำนวนสถานีอัดประจุ
ที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 42 สถานี

8. บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จํากัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 18 สถานี

9. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟผ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 15 สถานี

10. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟน.
เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 14 สถานี

11. บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 8 สถานี

12. บริษัท โชเซ่น เอ็นเนอร์จี้ จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 6 สถานี

13. บริษัท อรุณ พลัส จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ
เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 3 สถานี

14. บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด
มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 1 สถานี

เมื่อแยกเป็นรายภาคแล้ว พบว่า จำนวนสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าทั่วไทยมีอยู่ในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี รวม 473 สถานี, ภาคกลาง 152 สถานี,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 95 สถานี ภาคเหนือ 109 สถานี และภาคใต้ 115 สถานี