โครงการเสริมสร้างความยั่งยืนในการบริหารจัดการไฟฟ้าพลังงานทดแทนในเขตภาคเหนือ

ภายใต้โครงการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานที่ยั่งยืน

ในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ประจำปีงบประมาณ พ.. 2567

ดาวน์โหลดรายงาน OIT 25 : =>รายงานการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม 2/2567

การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกลที่ยั่งยืน สำนักงานปลัด กระทรวงพลังงาน โดยกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค (กพภ.) มีบทบาทหน้าที่เป็นฝ่ายเลขาฯ คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาระบบไฟฟ้า สำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกลที่ยั่งยืน ภายใต้คณะกรรมการจัดทำแผนบูรณาการการลงทุนและการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และภายใต้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อพิจารณาเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกลให้เป็นไปอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ กล่าวคือเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งสามารถสรุปประเด็นและข้อมูลในการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม ตามที่ กลุ่มงานเสริมสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วม (กสล.) กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค (กพภ.) สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน มีภารกิจในการ เผยแพร่ ถ่ายทอด รณรงค์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประชาชนที่เกี่ยวกับ การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน และพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน บูรณาการ ประสานการปฏิบัติงานระหว่างส่วนราชการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าฐาน และพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน โดยให้ความสำคัญกับแนวทางการพัฒนาระบบราชการ 4.0  มุ่งให้หน่วยงานราชการยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคีภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมเป็นหุ้นส่วนหรือภาคีการพัฒนา (Collaborate) และ ทำหน้าที่เลขานุการในคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกลที่ยั่งยืน ทำให้เห็นว่าประเด็นการพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่เข้าไม่ถึง ยังเป็นประเด็นท้าทายและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ดังนั้น กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค (กพภ.) สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน จึงได้มีการพัฒนาโครงการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงขึ้น เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืนในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง จะเป็นการยกระดับการมีส่วนร่วมให้เครือข่ายภาคีการพัฒนา ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในฐานะผู้ใช้พลังงาน และผู้บริหารจัดการพลังงานในพื้นที่ที่หลากหลาย ได้เข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืนในพื้นที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง