กองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค (กพภ.) สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าพลังงานสะอาดบนเกาะและพื้นที่ห่างไกลที่ยั่งยืน ร่วมรับรางวัลและแสดงความยินดีกับเครือข่ายการมีส่วนร่วมชุมชนเกาะจิกจังหวัดจันทบุรี และชุมชนเกาะบุโหลนเล จังหวัดสตูลใน
พิธีมอบรางวัล Thailand Energy Awards 2023 วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องคอนเวนชัน เซ็นเตอร์โรงแรมรามา การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ
(1) โดยบทบาทของกองส่งเสริมและพัฒนาพลังงานภูมิภาค (กพภ.) มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบไฟฟ้าบนเกาะและพื้นที่ห่างไกลที่ยั่งยืนในรูปเครือข่ายคณะทำงานร่วมกับภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่เป้าหมายคือ ชุมชนเกาะจิกจังหวัดจันทบุรี และชุมชนเกาะบุโหลนเล จังหวัดสตูล เพื่อให้ชุมชนทั้งสองมีการเข้าถึงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานจากแสดงอาทิตย์ที่มีคุณภาพ และเสถียรภาพ เพื่อทดแทนพลังงานสิ้นเปลืองจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ควบคู่กับการบริหารจัดการความยั่งยืนในรูปแบบของกิจการไฟฟ้าชุมชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมและการจัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการในรูปแบบกิจการไฟฟ้าชุมชนในชื่อบริษัทพลังงานสะอาดบ้านเกาะจิก และกลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืนบ้านเกาะบุโหลนเล
ภาพประกอบเครือข่ายความร่วมมือรัฐ เอกชน ประชาชน องค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ
(2) สรุปข้อมูลการมีส่วนร่วมกับชุมชนและผลการประกวด Thailand Energy Awards 2023
1.) เกาะจิก จ.จันทบุรี ได้รับรางวัลดีเด่นประเภท Local Grid อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกาะจิก https://ops.energy.go.th/th/community-events/9184
2.) เกาะบุโหลนเล ได้รับรางวัลดีเด่นประเภท Off Grid อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกาะบุโหลนเล https://ops.energy.go.th/th/community-events/9362
ผลการประกวด Thailand Energy Awards 2023
(3) ผลจากการมีส่วนร่วม

ด้านพลังงานทดแทน 2023

รางวัลดีเด่นประเภทโครงการที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า

On-Grid (Local Grid)

โครงการเกาะจิกรีชาร์จ ไมโครกริดพลังงานทดแทนแบบผสมผสานสู่ความยั่งยืน 1st Runner-Up ชุมชนบ้านเกาะจิก

ที่ตั้งโครงการ: เกาะจิก หมู่ 1 ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี 22110

โทรศัพท์ : 09 9229 3883

โทรสาร : -

ลักษณะโครงการ : โครงการปรับปรุงระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

บ้านเกาะจิก เป็นหมู่บ้านชาวประมง เริ่มใช้ระบบไมโครกริดร่วมกับการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากน้ำมันดีเซลและระบบแบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟฟ้า ได้มีการปรับปรุงโครงการโดยการเปลี่ยนแบตเตอรี่แบบตะกั่ว-กรดที่มีอยู่ด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมไอรอนฟอสเฟต (Lithium Iron Phosphate หรือ LFP) และใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติและมิเตอร์ดิจิตอลที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย หลังจากปรับปรุงระบบมีความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินการจ่ายไฟฟ้าไปยังชุมชน ระบบจะเลือกแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดก่อน ดังนั้นโซลาร์จะถูกใช้ก่อนเป็นอันดับแรก ไฟฟ้าจากโซลาร์ที่เหลือเกินความต้องการจะถูกเก็บเข้าแบตเตอรี่ลิเธียมไอรอนฟอสเฟต และเลือกใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นอันดับสอง หากโซลาร์และแบตเตอรี่ไม่เพียงพอต่อการใช้ จึงจะใช้เครื่องปั่นไฟดีเซลเป็นทางเลือกสุดท้าย ซึ่งระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ย 92,053 kWh/ปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 84.80 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หลังจากการปรับปรุงแก้ไขระบบสามารถลดปริมาณน้ำมันดีเซลที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าลงได้ 31,424 ลิตรต่อปี หรือลดลง 95% ผลประโยชน์ที่ชุมชนได้รับโดยตรง คือชุมชนสามารถได้ใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่มาจากพลังงานทดแทนกว่า 97% และลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าโดยปัจจุบันจ่ายค่าไฟฟ้าสุทธิอยู่ที่ 12 บาทต่อหน่วย มูลค่าการลงทุนของโครงการฯ 6 ล้านบาท ระยะเวลาคืนทุน 8 ปี

ด้านพลังงานทดแทน 2023

รางวัลดีเด่นประเภทโครงการที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า

Off-Grid (Power)

โครงการขยายผลโซลาร์โฮมแบบเติมเงิน ชุมชนเกาะบูโหลนเล กลุ่มพลังงานทดแทนและการออมเพื่อความยั่งยืน บ้านเกาะบูโหลนเล

ที่ตั้งโครงการ : เกาะบูโหลนดอน หมู่ 2 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

โทรศัพท์ : 09 614 19710 โทรสาร : -

ลักษณะโครงการ : ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

เกาะบูโหลนดอน เป็นที่อยู่อาศัยโดยสถานการณ์พลังงานของเกาะไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาไม่ถึง ทำให้ในยามค่ำคืนชุมชนต้องปั่นไฟฟ้าให้เองจากเครื่องปั่นไฟ จึงเกิดโครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถเป็นเจ้าของกิจการโครงการผลิตลิตไฟฟ้าในรูปแบบโซล่าโฮม DC 12 V แบบครบวงจร เมื่อมีโครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถทำใช้ชาวบ้านในพื้นที่เกาะบูโหลนเลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์และกักเก็บในรูปแบบแบตเตอรี่ LiFePo4 เพื่อนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง ติดตั้งระบบโซลาร์โฮมรวมทั้งหมด 26 ครัวเรือน (28 ระบบ) สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้บนเกาะเฉลี่ย 5,490 kWh/ปี สามารถลดการใช้น้ำดีเซลได้เฉลี่ย 2,712 ลิตรต่อปี เทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณปีละ 7.32 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเรียกเก็บเงินค่าอุปกรณ์ในรูปแบบการผ่อนชำระอุปกรณ์ ผ่านแอพพลิเคชั่นการออกรหัสเติมเงินให้สมาชิกนำรหัสไปเปิดการใช้งานที่บ้าน (Pay-As-You-Go) จากประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าพลังงงานแสงอาทิตย์สร้างความเชื่อมั่นในการใช้ไฟฟ้าของชุมชน ในการขยายผลต้นแบบนี้ไปยังพื้นที่ห่างไกลอื่นๆ ในประเทศไทยเพื่อการทำกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพและเผยแพร่ประโยชน์ของการเป็นเจ้าของกิจการไฟฟ้าพลังงานสะอาดโดยชุมชน

(4) การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน : ต้นแบบความสำเร็จจากความร่วมมือกับเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชน และในบทบาทเลขานุการนำเสนอประเด็นการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเข้าสู่คณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าสําหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกลที่ยั่งยืน https://ops.energy.go.th/th/community-events/9240 และนำประเด็นการมีส่วนร่วมไปพัฒนาเป็นคู่มือกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ห่างไกลต่อไป ตัวอย่างคู่มือ https://ops.energy.go.th/th/community-events/9362

รูปพิธีมอบรางวัลการประกวด Thailand Energy Awards 2023 ตาม link https://drive.google.com/drive/folders/1jM023GAusdXg4Z4ewnf5lMOmrncFIyKR?usp=sharing
สามารถเข้าไปตรวจสอบผู้ที่ได้รับรางวัลได้ที่...
https://www.thailandenergyaward.com/Thai/winner.php
กระทรวงพลังงาน โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้จัดการประกวด Thailand Energy Awards 2023 แบ่งการประกวดออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงานทดแทน ด้านอนุรักษ์พลังงาน ด้านพลังงานสร้างสรรค์ ด้านบุคลากร และด้านผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น จำนวน 208 ราย มีผู้ได้รับรางวัล ทั้งสิ้น จำนวน 68 รางวัล